ฟักทอง
ชื่ออื่น ฟังทอง (กลาง) มะฟักแก้ว ฟังเขียว มะฟักข้าวเหนียว (เหนือ) น้ำเต้า (ใต้) มะน้ำแก้ว (เลย) หมักคี้ส่า (กระเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) หมักอื้อ (ปราจีนบุรี,เลย)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น เป็นไม้เถาล้มลุก ลำต้นแข็งปานกลางกลมหรือเหลี่ยมมนๆ ๕ เหลี่ยม มือเกาะมี ๓-๔ แขนง
ใบ ใบเดี่ยวเรียงสลับกัน ขอบใบหยัก เว้า เป็นแฉกๆตื้นๆ ปลายใบมน มีขนทั้งสองด้านแผ่นปลายรูปกลม รูปไต โคนในเว้าเป็นรูปหัวใจ
ดอก ดอกเดี่ยวออกตามง่ามใบ ดอกตูมปลายแหลม ดอกตัวผู้และตัวเมียอยู่บนต้นเดียวกัน กลีบดอกสีเหลืองอมส้ม กลีบรองกลีบดอกเชี่อมติดกันเป็นรูประฆัง ปลายแยกเป็น ๕ กลีบ
ผล รูปร่างกลมแป้นเป็นพูเล็กๆ รอบผล ผิวไม่แข็ง สีเขียวเข้มอมน้ำเงินหรืออมเทาด่างเหลืองเป็นทางแต้มจุดทั่วผล เนื้อสีเหลืองหรือเหลืองอมเขียวหรือสีส้มเข้ม ตรงกลางฟูพรุนเม็ดมีจำนวนมาก แบน ขอบแข็งเป็นสันสีเข้ม
การใช้ประโยชน์
ใช้เป็นอาหาร ยอดอ่อน ใช้แกงกับเห็ด ไข่เหลือง เห็ดไข่ขาวหรือเห็ดโคน แกงแคร่วมกับผักชนิดต่างๆ หรือผัดกับไข่ ลูกอ่อน แกงกับหน่อไม้ยอดอ่อน, ผลอ่อน นึ่งรับประทาน เป็นผักจิ้มกับน้ำพริก ผลแก่ แกงบวด ผัดกับไข่ทำขนมบวชชี แต่งสีอาหาร
คุณค่าทางโภชนาการ เนื้อฟักทองมีวิตามินเอสูมาก ส่วนที่กินได้ ๑๐๐ กรัม มีวิตามินเอ ๒,๔๕๘ I.U. มีฟอสฟอรัส แคลเซียม มีวิตามินซี แป้ง สารสีเหลือง โปรตีนและอื่นๆ ใบอ่อน มีวิตามินสูงเท่ากับในเนื้อ มี แคลเซียมและฟอสฟอรัสสูงกว่าในเนื้อ และมีสารอ่อนๆ ดอก มีวิตามินเอ ธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัส มีวิตมินซีเล็กน้อย เมล็ด มีน้ำมันแป้ง ฟอสฟอรัส โปรตีน วิตามิน
ใช้เป็นยา เมล็ด ขับพยาธิตัวตืด ขับปัสวะ และบำรุงร่างกาย ราก บำรุงร่างกาย แก้ไอ ภอนพิษของฝิ่น น้ำมันจากเมล็ด บำรุงประสาท เยื่อกลางผล แก้ฟงช้ำ แก้ปวดอักเสบ



น้ำฟักทอง
ส่วนผสม
เนื้อฟักทองนึ่งสุก ถ้วย
น้ำสะอาด         ๓ ถ้วย
น้ำตาลทราย ๑๐๐ กรัม
เกลือป่น
วิธีทำ
ปอกเปลือกฟักทอง นึ่งสุก ใส่เครื่องปั่น เติมน้ำ ปั่นให้ละเอียด เทใส่ภาชนะนำไปตั้งไฟ เติมน้ำตาลทราย เกลือป่วน ชิมรสตามใจชอบ กรองด้วยผ้าขาวบาง เทใส่หม้อตั้งไฟพอเดือดยกลง เทใส่ขวด จะได้น้ำฟักทองสีเหลือง มีรสหวานมัน